วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่

ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพหรือ Graphic

การจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้เราสามารถจัดเก็บได้ในสองลักษณะคือ

1.1 เก็บในลักษณะ RASTER หรือข้อมูลที่เป็นจุดภาพ
     การจัดเก็บในลักษณะนี้คือการนำเอาข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพ มาจัดเก็บในลักษณะจุดภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการนำเอาตารางกริดมาครอบตัวภาพ ส่วนไหนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการก็ใส่ข้อมูลไปให้รู้ในรูปของเลขระหัส ดังแสดงในรูป 1.1 ความสมจริงของข้อมูลขึ้นอยู่กับ จำนวนหรือ ขนาดของตารางกริด โดยอาจจะใช้คำว่า resolution แทน ขนาดของตารางกริด หรือ dot per inch แทนจำนวนของตารางกริด อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล raster ที่เรารู้จักกันดี เช่น scanner 


     การจัดเก็บข้อมูลแผนที่แบบ raster ข้อดี คือ จัดเก็บได้ง่าย โครงสร้างของข้อมูลไม่ซับซ้อน แต่ข้อเสียคือต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก ยิ่งมี resolution ที่สูงก็จะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมาก 

1.2 เก็บในลักษณะ VECTOR หรือข้อมูลที่เป็นจุดพิกัด
     การจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นภาพแบบ vector คือการจัดเก็บในลักษณะเป็นเชิงพิกัดแบบ 2 แกน คือ X,Y หรือ 3 แกน X,Y,Z ในโครงสร้างข้อมูลแบบ จุด (POINT) เส้น (LINE) และ รูปเหลี่ยม (POLYGON)โดยที่การเก็บลักษณะแบบ จุด จะเป็นการจัดเก็บของจุดพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE ส่วนการเก็บข้อมูลในโครงสร้างข้อมูลแบบ เส้น(LINE) คือการเก็บข้อมูลเชิงพิกัดในส่วนที่เรียกว่า NODE และ VERTEX โดยจะถือว่า NODE คือจุดพิกัดที่แสดงถึงส่วนที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของเส้น ในขณะที่ VERTEX คือจุดพิกัดที่อยู่ระหว่าง NODE และสุดท้ายคือโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบรูปเหลี่ยม(POLYGON)ที่ประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลทั้งแบบจุด และเส้น โดยที่โครงสร้างข้อมูลแบบจุดจะแทนด้วยจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ในขณะที่โครงสร้างข้อมูลแบบเส้นแทนด้วยเส้นรอบรูปที่ล้อมรอบจุดศูนย์กลาง(CENTROID)ของรูปเหลี่ยม ดังแสดงในรูป 1.2 ที่แสดงโครงสร้างข้อมูลของจุด (POINT) เส้น(LINE) และ รูปเหลี่ยม(POLYGON) 


     อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ digitizer ข้อดีของการจัดเก็บข้อมูลแบบ VECTOR คือ ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างน้อยกว่าแบบ RASTER แต่ข้อเสียคือการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าแบบ RASTER

ข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบาย หรือ Attribute


     ในการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนที่เป็นคำอธิบายนี้ จะใช้ได้เฉพาะ การเก็บข้อมูลแผนที่ในลักษณะของ VECTOR เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR สามารถที่จะเชื่อมข้อมูลในส่วนที่เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่จัดเก็บในลักษณะของ ฐานข้อมูล(DATABASE) เพราะการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ VECTOR คือการจัดเก็บเชิงพิกัด หรือการจัดเก็บที่มีลักษณะเป็น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational Database) นั้นคือ ทำให้สามารถที่จะเชื่อมต่อระหว่าง ข้อมูลที่เป็นพิกัดของจุดภาพกับฐานข้อมูลที่เป็นตัวอักษรที่จัดเก็บใน โปรแกรมฐานข้อมูลเช่น Dbase หรือ Oracle ได้โดยผ่านทาง ข้อมูลที่มีข้อมูลร่วมกันเช่น หมายเลขประจำตัว(ID) ของแต่ละชุดของข้อมูลดังแสดงในรูป 1.3 
 

     ในส่วนของการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลในส่วนของภาพเข้ากับข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวอักษรเนื่องจากข้อจำกัดในส่วนของโครงสร้างข้อมูลแบบ RASTER แต่การเก็บข้อมูลแบบ RASTER ก็สามารถจะใช้ข้อมูลเชิงระหัส เป็นตัวแทนอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มของข้อมูลในตัวมันเอง ฉะนั้นเราอาจเรียกการเก็บข้อมูลแผนที่ในส่วนของภาพแบบ RASTER ว่า เป็น การเก็บข้อมูลแบบ one-field attribute เพราะใช้เลขระหัสแสดงความแตกต่างของข้อมูล ดังแสดงไว้ที่รูป 1.4 


     ในแผนที่ในรูปแบบกระดาษโดยทั่วไปวิธีที่จะแสดงความแตกต่างกันระหว่าง วัตถุที่มีรูปแบบ(Feature)เหมือนกันก็คือ สี และขนาด เช่น ถนนที่เป็นถนนสายหลัก ก็จะมีสี ที่มีลักษณะเด่นชัด เช่น สีแดง แตกต่างกับถนนที่เป็นถนนที่ไม่ใช่ถนนสายหลัก ก็คือ ถนนเหล่านั้นอาจเป็นสีแดงเช่นเดียวกันแต่ ขนาดอาจจะเล็กกว่า ถนนที่เป็นถนนสายหลัก แต่การจัดเก็บของแผนที่ตัวเลขถนนทั้งสองจะไม่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านของภาพในส่วนของ VECTOR แต่ข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกันกันที่ ข้อมูลที่จัดเก็บในส่วนของคำอธิบายหรือ Attribute ในส่วนของฐานข้อมูลตัวอักษร ดังแสดงไว้ที่รูป 1.5 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น